หน้าแรก / คำถามที่พบบ่อย / การบริหารบุคคล
1. หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคัดเลือกพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ (งบคลัง) และ (ชื่อส่วนงาน) มีกี่วิธี
4 วิธี
- หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกทั่วไปตามมติของ ก.บ.ม. ในการประชุมครั้งที่ 17/2559 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 (วิธีการเปิดคัดเลือกทั่วไป)
- หลักเกณฑ์การคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราว (งบพิเศษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
- หลักเกณฑ์การดำเนินการคัดเลือกในลักษณะที่เป็นสาขาและระดับคุณวุฒิที่ขาดแคลน
- หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาคัดเลือกผู้พิการเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกทั่วไปตามมติของ ก.บ.ม. ในการประชุมครั้งที่ 17/2559 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 (วิธีการเปิดคัดเลือกทั่วไป) ในส่วนของผลการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ประเภท TOEIC หรือ TU-GET หรือ TU-STEP ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ระบุในหลักฐานการสอบ จนถึงวันปิดรับสมัคร ประเภทใดประเภทหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณา ทำไมหน่วยงานจึงไม่สามารถระบุผลคะแนนการทดสอบได้
เนื่องจาก ศาลปกครองได้มีคำพิพากษากรณีการรับสมัครงานที่กำหนดรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเกียรตินิยม หรือการกำหนดคะแนนเฉลี่ยในการประกาศรับสมัครงาน ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการจำกัดสิทธิของผู้สมัครด้วยคะแนนภาษาอังกฤษ จึงไม่สามารถกำหนดคะแนนได้ (ตามมติ ก.บ.ม. ในการประชุมครั้งที่ 17/2559 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559)
3. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกทั่วไปตามมติของ ก.บ.ม. ในการประชุมครั้งที่ 17/2559 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 (วิธีการเปิดคัดเลือกทั่วไป) ในส่วนของผลการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ประเภท TOEIC หรือ TU-GET หรือ TU-STEP หน่วยงานสามารถกำหนดผลการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ประเภทอื่นได้หรือไม่
ได้ เพียงแต่ต้องไปกำหนดในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (เช่น หากมีผลการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ประเภท IELTS และมีคะแนน 6.0 คะแนนขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ หรือ TOEFL และมีคะแนน 79/120 คะแนนขึ้นไป (แบบใหม่) หรือ 550/677 คะแนนขึ้นไป (แบบเก่า) จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
4. เห็นหลักเกณฑ์แล้วค่ะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ
อธิบายหลักเกณฑ์ทางโทรศัพท์พร้อมยกตัวอย่างประกอบ หรือ ให้มาพบที่กองทรัพยากรมนุษย์ พร้อยกตัวอย่างประกอบ
5. การปรับตำแหน่งของลูกจ้างประจำ มีกี่วิธี
มี 2 วิธีค่ะ คือ
1.การเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงาน
- หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 21 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553 เรื่อง การบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ
- หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 1 เมษายน 2553 เรื่อง บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของลูกจ้างประจำ
- หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 เรื่อง การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่
- ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงาน ลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2556
- หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 47 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เรื่อง การปรับโครงสร้างอัตราค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ
- หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0420/ว 337 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2559 เรื่อง บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ
- หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0420/ว 27 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2560 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ลูกจ้างประจำของส่วนราชการได้รับอัตราค่าจ้างสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งในแต่ละระดับ
- หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0420/ว 370 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่
2.การปรับระดับตำแหน่ง
- หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 1 เมษายน 2553 เรื่อง บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของลูกจ้างประจำ
- หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 เรื่อง การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่
- ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับระดับตำแหน่งลูกจ้างประจำ
ประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการ พร้อมทั้งแบบฟอร์มต่าง ๆ มีอยู่แล้วที่เว็บไซต์กองทรัพยากรมนุษย์ สามารถดาวน์โหลดเอกสารมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจก่อนได้นะคะ
6. การปรับตำแหน่งของลูกจ้างประจำทั้ง 2 วิธี แตกต่างกันอย่างไรค่ะ
การเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงาน
ส่วนราชการสามารถเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงานของลูกจ้างประจำทั้งตำแหน่งภายในกลุ่มงานเดียวกันและตำแหน่งต่างกลุ่มงานได้ ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งครบถ้วนตามที่กะทรวงการคลังกำหนด โดยการดำเนินการต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น และภารกิจหน้าที่ของส่วนราชการเป็นสำคัญ พิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ ความรับผิดชอบ ประสบการณ์ และคุณลักษณะอื่น ๆ ของลูกจ้างประจำที่จะเปลี่ยนสายงานฯ
การปรับระดับตำแหน่ง
ต้องได้รับอัตราค่าจ้างถึงขั้นสูงสุด (เต็มขั้น) ของระดับตำแหน่งเดิม ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งครบถ้วนตามที่กะทรวงการคลังกำหนดในระดับชั้นงานที่สูงขึ้นระดับถัดไป โดยการดำเนินการต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น และภารกิจหน้าที่ของส่วนราชการเป็นสำคัญ พิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ ความประพฤติ ความรับผิดชอบ ประสบการณ์ และคุณลักษณะอื่น ๆ ของลูกจ้างประจำที่จะปรับระดับตำแหน่งฯ
7. เห็นหลักเกณฑ์แล้วค่ะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ
อธิบายหลักเกณฑ์ทางโทรศัพท์พร้อมยกตัวอย่างประกอบ หรือ ให้มาพบที่กองทรัพยากรมนุษย์ พร้อยกตัวอย่างประกอบ
8. การจ้างลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง (งบคลัง) มีหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติอย่างไร
หลักเกณฑ์มีดังนี้
-หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0415/ว 41 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2546 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการจ้างลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง
-หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 77 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 เรื่อง การปรับบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง
ประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการ พร้อมทั้งแบบฟอร์มต่าง ๆ มีอยู่แล้วที่เว็บไซต์ กองทรัพยากรมนุษย์ สามารถดาวน์โหลดเอกสารมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจก่อนได้นะคะ
โดยในหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะบอกถึงขั้นตอน วิธีการดำเนินการจ้างลูกจ้างชาวต่างประเทศที่มีสัญญาจ้าง ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ อัตราค่าจ้าง
- จ้างใหม่ อายุไม่เกิน 65 ปี
- จ้างต่อ อายุไม่เกิน 65 ปี
- จ้างใหม่ อายุเกิน 65 ปี และ
- จ้างต่อ อายุเกิน 65 ปี
- การขอเปลี่ยนตำแหน่ง
- การขอปรับอัตราค่าจ้าง
- การทำสัญญาจ้าง
9. เห็นหลักเกณฑ์แล้วค่ะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ
อธิบายหลักเกณฑ์ทางโทรศัพท์พร้อมยกตัวอย่างประกอบ หรือ ให้มาพบที่กองทรัพยากรมนุษย์ พร้อยกตัวอย่างประกอบ
10. การจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย (งบคลัง) มีหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติอย่างไร
หลักเกณฑ์มีดังนี้ ระเบียบทบวงมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2542
ประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการ พร้อมทั้งแบบฟอร์มต่าง ๆ มีอยู่แล้วที่เว็บไซต์กองทรัพยากรมนุษย์ สามารถดาวน์โหลดเอกสารมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจก่อนได้นะคะ
11. จะส่งเรื่องขออนุมัติจ้างมีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย (งบคลัง) ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างค่ะ
เอกสารที่ต้องใช้คือ แบบคำขอจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย พร้อมกรอกข้อมูลรายละเอียด ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน พร้อมเอกสารแนบอื่น ๆ เช่น resume สำเนาเอกสารคุณวุฒิการศึกษา และสำเนาบัตรประชาชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่กองทรัพยากรมนุษย์ตรวจสอบได้
- ส่วนที่ 1 เหตุผลความจำเป็นในการจ้าง
- ส่วนที่ 2 ภาระงานที่มอบหมายให้ปฏิบัติ
- ส่วนที่ 3 ประวัติผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ
12. เห็นหลักเกณฑ์แล้วค่ะ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ
อธิบายหลักเกณฑ์ทางโทรศัพท์พร้อมยกตัวอย่างประกอบ หรือ ให้มาพบที่กองทรัพยากรมนุษย์ พร้อยกตัวอย่างประกอบ
1. พนักงานมหาวิทยาลัย จะได้ค่าตอบแทนในอัตราตามประกาศนี้ และต้องทำผลงาน 1 เรื่อง เพื่อขอรับเงินต่อทุกรายหรือไม่ อย่างไร
- พนักงานมหาวิทยาลัย(เปลี่ยนสถานภาพ) ที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง และไม่ถูกบังคับให้ทำผลงาน
- พนักงานมหาวิทยาลัย(เปลี่ยนสถานภาพ) ที่ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการก่อนวันที่เปลี่ยนสถานภาพ จะได้รับเงินประจำตำแหน่งเมื่อ พนักงานมหาวิทยาลัย ทำผลงานจำนวน 1 รายการ เข้ารับการประเมินและผลการประเมินอยู่ในระดับผ่าน และได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นระยะเวลา 3 ปี หากประสงค์จะรับเงินต่ออีก 3 ปี
- พนักงานมหาวิทยาลัย(เดิม) ที่ได้รับการแต่งตั้งในระดับที่สูงขึ้นจะได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นระยะเวลา 3 ปี และจักต้องทำผลงานจำนวน 1 รายการ หากประสงค์จะรับเงินต่ออีก 3 ปี
1. วิธีการต่ออายุงานของ ศาสตราจารย์ และ รองศาสตราจารย์ ต่างกันอย่างไร
ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ไม่ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาเอก หากมีคุณสมบัติเข้าตามเกณฑ์และ ประสงค์ต่ออายุงาน ให้จัดทำเอกสารส่งส่วนงาน และให้ส่วนงาน นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำ คณะฯ เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารบุคคล (ก.บ.ค.) โดยไม่ต้อง นับคะแนนเสียงข้างมาก
ส่วนตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาเอก และให้ส่วนงานพิจารณาเหตุผล ความจำเป็น ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ที่หาผู้ทำหน้าที่แทนได้ยากจำเป็นต้องรักษาไว้ และมี คุณสมบัติเข้าตามเกณฑ์อาจจะได้รับการพิจารณาต่ออายุงาน ให้ส่วนงาน นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ประจำคณะฯ เพื่อพิจารณาการต่ออายุงานให้ดำเนินการโดยวิธีลับ และนับผลโดยวิธีเปิดเผย โดยต้อง ได้รับคะแนนเสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการประจำคณะฯ ทั้งหมด จึงจะได้รับการ เสนอชื่อเพื่อให้คณะกรรมการบริหารบุคคลพิจารณา
2. ถ้ายื่นขอตำแหน่งทางวิชาการไว้แล้ว สามารถขอต่ออายุงานได้หรือไม่
ถ้าตำแหน่งศาสตราจารย์ จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งแล้ว และถ้าเป็นตำแหน่งรองศาสตราจารย์ จะต้องได้รับการแต่งตั้งก่อนวันที่กองทรัพยากรมนุษย์รับเรื่องการต่ออายุงาน
3. ผลงานทางวิชาการที่รอการตีพิมพ์โดยมีหนังสือรับรองการตีพิมพ์ ได้หรือไม่
ผลงานทางวิชาการจะต้องตีพิมพ์เผยแพร่แล้วตามเกณฑ์ของการของตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งงานพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จะเป็นผู้ตรวจสอบในส่วนของผลงานทางวิชาการ
4. พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ที่ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุงานจะได้รับเงินเดือนต่อเนื่องจากเดิมหรือไม่
พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ที่ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุงาน ยังคงมีสถานภาพเป็นพนักงาน มหาวิทยาลัยต่อเนื่องไปอีก 5 ปี ได้รับเงินเดือนต่อเนื่องและต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตาม เกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
5. พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ที่ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุงานสามารถดำรงตำแหน่งทางการบริหารได้หรือไม่
พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ที่ได้รับอนุมัติให้ต่ออายุงานต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการสอน วิจัย และเป็นที่ปรึกษาให้กับอาจารย์ใหม่ในการทำวิจัย หรือพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เท่านั้น ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการบริหารได้
1. การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน กับ คณะกรรมการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ ต่างกันอย่างไร
การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน ส่วนงานสามารถทำคำสั่งแต่งตั้งตามองค์ประกอบที่กำหนดได้ เว้นแต่ส่วนงานไม่มีองค์ประกอบตามที่กำหนดให้ขออนุมัติองค์ประกอบ จากมหาวิทยาลัยก่อน ส่วนตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ ให้ส่วนงานส่งองค์ประกอบคณะกรรมการตามที่เกณฑ์กำหนดมาให้มหาวิทยาลัย เพื่อออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ และส่ง คำสั่งให้ส่วนงานเพื่อดำเนินการต่อไป
2. จะต้องดำรงตำแหน่งรักษาการนานเท่าไหร่ถึงจะประเมินเข้าสู่ตำแหน่งได้
ส่วนงานสามารถประเมินเข้าสู่ตำแหน่งได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม หรือหากรักษาการเกิน 1 ปี และผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดยังไม่ได้แจ้งให้ยื่นขอรับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งให้สามารถยื่นคำขอต่อส่วนงานเพื่อขอรับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งได้
3. การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน และผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ สามารถประเมินและแต่งตั้งไปก่อนแล้วค่อยไปอบรมหลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษา ได้หรือไม่
การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างานต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาระดับกลาง ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือที่มหาวิทยาลัยรับรอง แล้ว ส่วนการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง/ เลขานุการคณะ อาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งไปก่อนโดยต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาระดับสูงที่ ก.พ.อ. กำหนด ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
4. การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ ต้องดำรงตำแหน่งหัวหน้างานมาแล้วกี่งาน
ต้องดำรงตำแหน่งหัวหน้างานมากว่า 1 งาน มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน และดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานอื่น หรือ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกอง/ เลขานุการคณะ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
5. ถ้าผู้ขอรับการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานอยู่และส่วนงานยังไม่แต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างาน ได้หรือไม่
ถ้าได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับอำนวยการระดับต้น (ผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ) จะต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้างาน แต่หากส่วนงานยังไม่แต่งตั้งผู้รักษาการใน ตำแหน่งหัวหน้างานแทน ก็ให้งานนั้นอยู่ภายใต้ผู้อำนวยการกอง/เลขานุการคณะ ได้
1. กรณีที่ส่วนงานประสงค์จะดำเนินการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ สูงกว่าวุฒิที่บรรจุ มีวิธีการคำนวณอย่างไร
หากส่วนงานประสงค์จะดำเนินการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ สูงกว่าวุฒิที่บรรจุ มหาวิทยาลัยจะคำนวณจากวุฒิสูงสุด คือ วุฒิปริญญาเอก และให้ค่าประสบการณ์ไม่เกิน 10 ปี โดยส่วนงานจะต้องพิจารณาเบื้องต้นว่าจะให้ค่าประสบการณ์กี่ปี และให้ร้อยละเท่าใดต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยูกับดุลยพินิจของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองบุคคล สำหรับการดำเนินการบรรจุให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์ การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ ประเภทคณาจารย์ประจำและนักวิจัย พ.ศ.2565
ตารางอัตราค่าจ้างกรณีขอจ้างสูงกว่าวุฒิที่บรรจุ
วุฒิปริญญาเอก อัตราค่าจ้างแรกบรรจุ 41,000 บาทต่อเดือน

จำนวนปีประสบการณ์
อัตราค่าจ้างต่อเดือน
ร้อยละ 4
ร้อยละ 3
ร้อยละ 2
ร้อยละ 1
1
42,640
42,230
41,820
41,410
2
44,350
43,500
42,660
41,830
3
46,130
44,810
43,520
42,250
4
47,980
46,160
44,400
42,680
5
49,900
47,550
45,290
43,110
6
51,900
48,980
46,200
43,550
7
53,980
50,450
47,130
43,990
8
56,140
51,970
48,080
44,430
9
58,390
53,530
49,050
44,880
10
60,730
55,140
50,040
45,330
วุฒิปริญญาโท อัตราค่าจ้างแรกบรรจุ 28,630 บาทต่อเดือน
กรณีที่มีตำแหน่งทางวิชาการ และ/หรือ อยู่ระหว่างศึกษาระดับปริญญาเอก

จำนวนปีประสบการณ์
อัตราค่าจ้างต่อเดือน
ร้อยละ 4
ร้อยละ 3
ร้อยละ 2
ร้อยละ 1
1
29,780
29,490
29,210
28,920
2
30,980
30,380
29,800
29,210
3
32,220
31,300
30,400
29,510
4
33,510
32,240
31,010
29,810
5
34,860
33,210
31,640
30,110
6
36,260
34,210
32,280
30,420
7
37,720
35,240
32,930
30,730
8
39,230
36,300
33,590
31,040
9
40,800
37,390
34,270
31,350
10
42,440
38,520
34,960
31,670
2. การจ้างสูงกว่าวุฒิที่บรรจุ หากส่วนงานประสงค์จะเทียบเคียบอัตราค่าจ้างเดิมก่อนลาออกได้หรือไม่
สามารถเทียบเคียงอัตราค่าจ้างเดิมก่อนลาออกได้ ทั้งนี้ขึ้นอยูกับดุลยพินิจของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองบุคคล สำหรับการดำเนินการบรรจุให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์ การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานหมาวิทยาลัย สายวิชาการ ประเภทคณาจารย์ประจำและนักวิจัย พ.ศ.2565
3. พนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ สามารถขอจ้างสูงกว่าวุฒิได้หรือไม่
ไม่สามารถขอจ้างสูงกว่าวุฒิได้ เนื่องจาก ตำแหน่งที่กำหนดไว้ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์
1. มหาวิทยาลัยจะจัดสรรอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย ทดแทนในกรณีใดบ้าง
จัดสรรอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย ทดแทนพนักงานมหาวิทยาลัย มี 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย (เปลี่ยนสถานภาพ) ลาออก ให้ออก ไล่ออก เลิกจ้าง เสียชีวิต ไม่รวมถึงการย้ายสังกัด โดยมหาวิทยาลัยจะจัดสรรอัตราคืน ทุกวันที่ 1 ของเดือน เช่น ลาออกวันที่ 15 ธันวาคม 2566 จะจัดสรรอัตราคืนในวันที่ 1 มกราคม 2567
2. กรณีข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย (เปลี่ยนสถานภาพ) เกษียณอายุ
 2.1 ข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย (เปลี่ยนสถานภาพ) สายวิชาการ คืนทุกอัตรา
 2.2 ข้าราชการ / พนักงานมหาวิทยาลัย (เปลี่ยนสถานภาพ) สายสนับสนุนวิชาการ จะคืนเฉพาะตำแหน่งเลขานุการคณะ / สำนัก / สถาบัน / ผู้อำนวยการกอง / ตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ ตำแหน่งหัวหน้างาน และตำแหน่งที่มีระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป
2. เพราะอะไรมหาวิทยาลัยจึงกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการสรรหา และบรรจุ พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ โดยให้ระยะเวลาดำเนินการเพียง 1 ปี
เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการจัดสรรอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย จากสำนักงบประมาณ อีกทั้งสำนักงบประมาณ กำหนดให้มหาวิทยาลัย มีจำนวนอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อใช้บรรจุ เพียง 4,226 อัตราเท่านั้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีความจำเป็นต้องบริหารอัตรากำลังให้มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการสรรหาและบรรจุ ภายในระยะเวลา 1 ปี
3. หากส่วนงานได้รับการจัดสรรอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ที่ทดแทนอัตราตำแหน่งเลขานุการที่เกษียณอายุ และส่วนงานมีความประสงค์ที่จะทาบทามบุคคลจากส่วนงานอื่นมาดำรง ตำแหน่งเลขานุการ ส่วนงานจะต้องทำอย่างไรกับอัตรากำลังที่ได้รับการจัดสรร
ส่วนงานจะต้องคืนอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ที่ได้รับการจัดสรรทดแทน คืนให้กับส่วนงานที่บุคคลนั้นสังกัด เพื่อเป็นการสับเปลี่ยนกัน
4. หากส่วนงานได้รับการจัดสรรอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ที่ทดแทนกรณีเกษียณอายุ ส่วนงานต้องดำเนินการอย่างไร
ส่วนงานจะต้องพิจารณากำหนดตำแหน่งว่าควรกำหนดตำแหน่งเป็นตำแหน่งอะไร และดำเนินการส่งบันทึกแจ้งไปยังงานบริหารบุคคลและทะเบียนประวัติ เพื่อดำเนินการกำหนดตำแหน่งต่อไป
5. หากส่วนงานประสงค์จะเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน ส่วนงานจะต้องทำอย่างไร
กรณีที่เป็นอัตราว่าง ให้ส่วนงานแจ้งเหตุผลความจำเป็นในการที่จะขอเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย และข้อมูลจำนวนตำแหน่งทุกประเภท
กรณีที่มีคนครอง ให้ส่วนงานแจ้งเหตุลความจำเป็น ภาระงานเดิม ภาระงานใหม่ คำสั่งมอบหมายงาน และข้อมูลจำนวนตำแหน่งทุกประเภท
ทั้ง 2 กรณี ส่วนงานจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งแล้ว ส่วนงานจะไม่สามารถขออัตราในตำแหน่งที่เปลี่ยนไปแล้วได้อีกต่อไป เช่น เปลี่ยนตำแหน่งนักวิชาการศึกษา เป็นนักทรัพยากรมนุษย์ ส่วนงานจะไม่สามารถขออัตราในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาได้อีก
6. หากส่วนงานประสงค์จะขอรับการจัดสรรอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มใหม่ ส่วนงานจะต้องส่งเอกสาร อะไรบ้าง
1. บันทึกแจ้งความประสงค์ และเหตุผลความจำเป็นในการขอรับการจัดสรรอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ / สายสนับสนุน เพิ่มใหม่
2. ข้อมูลตำแหน่ง วุฒิ ที่จะขออัตราเพิ่มใหม่ (แบบฟอร์ม FM-HRM-02)
3. จำนวนบุคลากรทั้งหมดของส่วนงาน และคำชี้แจงเหตุผลความจำเป็น (แบบฟอร์ม FM-HRM-02)
4. กรณีขออัตราพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ เพิ่มใหม่
 4.1 ตารางแสดงภาระงานสอน พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ (แบบฟอร์ม FM-HRM-03)
 4.2 ตารางรายชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวนหลักสูตร และรายชื่ออาจารย์ประจำวิชา (แบบฟอร์ม FM-HRM-04)
 4.3 รายละเอียดหลักสูตรที่จะขออัตราพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ เพิ่มใหม่
 4.4 จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน และแผนการรับนักศึกษา 3 ปี
5. กรณีขออัตราพนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุน เพิ่มใหม่
 5.1 ตารางแสดงภาระงานของตำแหน่งที่จะขออัตราเพิ่มใหม่ (แบบฟอร์ม FM-HRM-05)
7. การจัดสรรอัตราลูกจ้างชั่วคราว งบคลัง ในแต่ละปีงบประมาณ เหตุใดมหาวิทยาลัยจึงดำเนินการจัดสรรอัตราล่าช้า
การจัดสรรอัตราลูกจ้างชั่วคราว งบคลัง มหาวิทยาลัยจะต้องได้รับแจ้งการจัดสรรอัตราดังกล่าวจากสำนักงบประมาณก่อน จึงจะสามารถแจ้งการจัดสรรอัตราให้กับส่วนงานได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะได้รับการแจ้งประมาณกันยายน ของทุกปี
8. จากการที่มหาวิทยาลัยจัดสรรอัตราลูกจ้างชั่วคราว งบคลัง ล่าช้า มีวิธีการแก้ปัญหาให้ส่วนงานอย่างไร
ส่วนงานควรดำเนินการจ้าง หรือ ต่อสัญญา โดยใช้เงินรายได้ส่วนงานไปพลางก่อน
9. พนักงานมหาวิทยาลัย สายสนับสนุนวิชาการ เมื่อครั้งที่บรรจุในตำแหน่งวุฒิปริญญาตรี และต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว สามารถยื่นขอปรับวุฒิได้หรือไม่
ไม่สามารถยื่นขอปรับวุฒิได้ เนื่องจาก ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครนั้น กำหนดไว้สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่สามารถยื่นขอเพิ่มวุฒิในประวัติได้
1. พนักงานเงินรายได้ ที่ได้รับการเปลี่ยนตำแหน่งจากตำแหน่งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นตำแหน่งระดับปริญญาตรี การนับระยะเวลาการเปลี่ยนสถานภาพจะนับอย่างไร
พนักงานเงินรายได้ ประเภทชั่วคราว ต้องปฏิบัติงานในวุฒิปริญญาตรี มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. หากพนักงานเงินรายได้ที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยนสถานภาพ และได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาการเปลี่ยนสถานภาพ ครบ 2 ครั้งแล้ว จะสิ้นสุดสัญญาจ้างเลยหรือไม่
จะไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง
3. การเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย (ส่วนงาน) ต้องดำเนินการอย่างไร
มอบให้ส่วนงานไปดำเนินการเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย (ส่วนงาน) ตามเกณฑ์การเปลี่ยนพนักงานมหาวิทยาลัย งบคลัง ออกคำสั่งจ้างเอง และลงข้อมูลในระบบให้ถูกต้อง
4. กรณีที่ส่วนงานรับพนักงานเงินรายได้เป็นประเภทประจำ ต้องปฏิบัติงานครบ 5 ปีหรือไม่ ถึงจะสามารถเปลี่ยนสถานภาพได้
กรณี ส่วนงานเปิดรับพนักงานเงินรายได้จากประเภทประจำ ต้องปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีผลปฏิบัติงานประจำปีติดต่อกัน 3 ปีไม่ต่ำกว่าระดับดีมาก หรือ มีผลปฏิบัติงานประจำปีติดต่อกัน 5 ปีไม่ต่ำกว่าระดับดี
5. การจัดทำแผนอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัย (ส่วนงาน) ต้องนำเข้าคณะกรรมการส่วนงานหรือไม่ และการปรับแผนฯ ต้องดำเนินการอย่างไร
การจัดทำแผนอัตรากำลังฯ และการปรับแผนอัตรากำลังฯ ต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำส่วนงาน หากมีความจำเป็นส่วนงานสามารถดำเนินการปรับแผนอัตรากำลังฯ ได้ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี
1. กรณีที่มหาวิทยาลัยไม่ให้มีการจ้างพนักงานเงินรายได้ สายงานต่ำกว่าปริญญาตรี และให้ไปจ้างเหมาบริการแทน ซึ่งส่วนงานไม่สามารถดำเนินการจ้างได้ จะสามารถขอจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตามภารกิจ ได้หรือไม่
สามารถดำเนินการจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตามภารกิจได้
2. กรณีการจ้างอาจารย์ สามารถดำเนินการจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตามภารกิจได้หรือไม่
ถ้าการจ้างอาจารย์เป็นการจ้างแบบชั่วคราว ตามโครงการหรือแผนงานที่กำหนด ระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่มีการปรับค่าจ้าง
3. อัตราเงินเดือนและค่าจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยตามภารกิจให้จ่ายตามอนุมัติและไม่ให้มีการปรับค่าจ้าง กรณีถ้ามีความจำเป็นต้องปรับค่าจ้าง จะดำเนินการอย่างไร
หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงค่าจ้าง ต้องทำการปรับแผนอัตรากำลังพนักงานมหาวิทยาลัยตามภารกิจ และมีการทำคำสั่งจ้างและสัญญาจ้างใหม่
4. การจ้างลูกจ้างชั่วคราวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้ดำเนินการจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตามภารกิจ โดยอิงตามเกณฑ์ใด
อิงตามเกณฑ์การจ้างลูกจ้างชั่วคราวงบคลัง
1. กรณีที่ส่วนงานมีการจ้างผู้บริหารจากบุคคลภายนอก ตำแหน่งผู้ช่วยคณบดี ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งผู้บริหาร ที่เป็นไปตามเกณฑ์ จะดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้อง
ไม่สามารถดำเนินการจ้างได้
2. ผู้บริหารจากบุคคลภายนอกต้องมีการประเมินประจำปีหรือไม่ และใครเป็นผู้ประเมิน
ต้องมีการประเมินประจำปีโดยคณบดี หรือท่านอธิการบดี
1. การปรับวุฒิ ส่วนงานต้องดำเนินการภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นขอปรับวุฒิรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ หรือวันที่ผู้ยื่นขอปรับวุฒิสำเร็จการศึกษา
ให้พิจารณาวันที่ล่าสุดเป็นวันที่ได้รับการปรับวุฒิ
1. กรณีที่นักเรียนทุนสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้ และอยู่ระหว่างปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่ต้นสังกัดเดิมอยู่ ต้องดำเนินการอย่างไร
ต้องทำหนังสือแจ้งผู้ให้ทุนทราบว่า นักเรียนทุนมาสอบบรรจุเป็นอาจารย์ได้ และต้องการเปลี่ยนหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อปฏิบัติงานชดใช้ทุน พร้อมทำหนังสือไปแจ้งต้นสังกัดเดิมเพื่อขอให้พิจารณาให้ความยินยอมการเปลี่ยนต้นสังกัดของนักเรียนทุน
2. กรณีนักเรียนทุนสำเร็จการศึกษาวุฒิปริญญาโท แต่มหาวิทยาลัยมีเกณฑ์การรับอาจารย์ที่สำเร็จวุฒิปริญญาเอก จะดำเนินกการอย่างไร
มหาวิทยาลัยต้องแจ้งให้นักเรียนทุนตามความต้องการของมหาวิทยาลัยฯ ทราบหลักเกณฑ์การรับอาจารย์ที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้นักเรียนทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกและกลับมาปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่มหาวิทยาลัย