| |
---|
|
1. การขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง |
|
จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 6 ปี กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และ 1 ปี (พ้นทดลองงานแล้ว) กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
2. มีผลการสอนระดับชำนาญในการสอน และมีเอกสารประกอบการสอน อย่างน้อย 1 รายวิชา
3. มีผลงานทางวิชาการที่มีปริมาณและคุณภาพผ่านเกณฑ์ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และมีจริยธรรมและจรรยาบรรณเป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด |
|
2. การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ จะต้องให้ผู้ร่วมงานลงนามรับรองในแบบฟอร์มสัดส่วนการมีส่วนร่วมทุกคนหรือไม่ |
|
การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ จะต้องให้ผู้ร่วมงานลงนามรับรองในแบบฟอร์มสัดส่วนการมีส่วนร่วมทุกคนที่มีชื่ออยู่ในตัวเล่มผลงาน
โดยจะต้องระบุหน้าที่ความรับผิดชอบว่า ใครรับผิดชอบงานในส่วนใดบ้าง |
|
3. เอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการที่ผู้ขอต้องยื่นมีอะไรบ้าง |
|
1. แบบตรวจสอบเอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ (แบบฟอร์ม Checklist) 1 ชุด
2. แบบคำขอรับการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (แบบฟอร์ม ก.พ.อ. 03) 5 ชุด
3. แบบรับรองจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ 1 ชุด
4. แบบรับรองว่า ผลงานที่ใช้ประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการไม่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตร พร้อมวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และปริญญาเอก 1 ชุด
5. เอกสารประกอบการสอน (ผศ.) หรือ เอกสารประกอบคำสอน (รศ.) 2 ชุด
6. ผลงานทางวิชาการที่เสนอขอ พร้อมเอกสารแนบผลงานแต่ละประเภท 5 ชุด
7. แบบฟอร์มรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ 5 ชุด
8. หนังสือรับรองการทำวิจัยในคนหรือในสัตว์ หรือ แบบฟอร์มรับรองว่า ไม่มีการทำวิจัยในคนหรือในสัตว์ 5 ชุด |
|
4. ขั้นตอนการดำเนินการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมีขั้นตอนอะไรบ้าง |
|
ขั้นตอนการขอตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. ตรวจสอบคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการ
2. ขอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจากประธานสาขา ซึ่งเป็นท่านหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
3. ติดต่อทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
4. ติดตามผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิฯ
5. นัดประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (กรณีการขอตำแหน่ง ศ. หรือ กรณีผลการประเมิน ผศ./รศ. ที่ไม่เป็นเอกฉันท์)
6. นำเสนอผลการประเมินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
7. นำเสนอสภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ ตำแหน่งทางวิชาการ |
|
5. ระยะเวลาในการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ใช้เวลาการดำเนินการเท่าไหร่ |
|
การพิจารณาตำแหน่ง ผศ./รศ ใช้เวลาการดำเนินการประมาณ 3-8 เดือน ส่วนการพิจารณาตำแหน่ง ศ. ใช้เวลาการดำเนินการประมาณ 1 ปี |
|
6. กรณีผู้ขอไม่ผ่านเกณฑ์จะต้องดำเนินการอย่างไร |
|
กรณีผู้ขอไม่ผ่านเกณฑ์ หากมีผลงานเรื่องใหม่ สามารถยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งใหม่ได้ทันที หรือ ขอทบทวนผลการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการเดิม ภายใน 90 วัน นับจากวันที่รับทราบผล
โดยต้องชี้แจงเหตุผลทางวิชาการที่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิเปลี่ยนผลการประเมินได้ |
|
7. กรณีผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการมีความประสงค์จะส่งผลงานทางวิชาการเพิ่มเติม สามารถกระทำได้ หรือไม่ |
|
สามารถกระทำได้ โดยจะต้องอยู่ระหว่างขั้นตอนก่อนส่งผลงานทางวิชาการให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน |
|
8. กรณีผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการมีความประสงค์จะส่งบทความวิจัย ฉบับรอตีพิมพ์แผยแพร่ สามารถกระทำได้หรือไม่ |
|
สามารถกระทำได้ โดยจะต้องส่งหนังสือรับรองจากกองบรรณาธิการวารสารทางวิชาการว่าจะมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฉบับใด Vol. ใด เดือนใด และส่งบันทึกข้อความ “ขอรับรองว่า ผลงานที่ส่งมามีเนื้อหาเหมือนกันกับฉบับที่ตีพิมพ์เผยแพร่” ทั้งนี้
วันแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการจะเป็นวันที่งานพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการได้รับผลงานฉบับตีพิมพ์เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว |
|
9. กรณีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีมติให้ปรับปรุงแก้ไขผลงานประเภทตำราหรือหนังสือ วันแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จะเป็นวันใด |
|
วันแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จะเป็นวันที่งานพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการได้รับผลงานตำราหรือหนังสือ ฉบับปรับปรุงแก้ไข |
|
10. กรณีการระบุสาขาวิชาที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ให้ผู้ขอพิจารณาจากอะไร |
|
ผู้ขอสามารถเลือกสาขาวิชาที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ จากบัญชีสาขาวิชาที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญของผลงานทางวิชาการที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ |