หน้าแรก / คำถามที่พบบ่อย / การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1. พนักงานมหาวิทยาลัย จะลาศึกษาหรือฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
1. พนักงานมหาวิทยาลัยที่จะไปศึกษาในประเทศ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
 1.1 เป็นผู้พ้นทดลองปฏิบัติงานแล้ว
 1.2 เมื่อสำเร็จการศึกษา จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานชดใช้การลาทุกประเภทของตนจนครบถ้วนก่อนการเกษียณอายุ
 1.3 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการถูกดำเนินการทางวินัยหรือคดีอาญา
2. พนักงานมหาวิทยาลัยที่จะไปศึกษาต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
 2.1 เป็นผู้พ้นทดลองปฏิบัติงานแล้ว
 2.2 เมื่อสำเร็จการศึกษา จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานชดใช้การลาทุกประเภทของตนจนครบถ้วนก่อนการเกษียณอายุ
 2.3 มีความรู้ภาษาต่างประเทศที่จะใช้ในการศึกษานั้นในระดับที่ ก.พ. กำหนด
 2.4 ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการถูกดำเนินการทางวินัยหรือคดีอาญา
 2.5 ผ่านการตรวจร่างกายเพื่อการลาศึกษา ณ ต่างประเทศจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. หรือสถานพยาบาลของรัฐตามที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ อำนาจพิจารณาอนุญาตการลาและการได้รับค่าจ้างระหว่างลา ของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2552
2. การนับเวลาชดใช้เวลาลาศึกษามีหลักเกณฑ์อย่างไร
การลาศึกษาต่างประเทศกับการลาศึกษาในประเทศมีความแตกต่างกัน โดยลาศึกษาต่างประเทศจะต้องลาเต็มเวลา ส่วนการลาศึกษาในประเทศแบ่งออกเป็น ลาเต็มเวลา และลาบางส่วน โดยมีวิธีการนับเวลาชดใช้ดังนี้
สำหรับข้าราชการ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2512 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้จะต้องกลับมารับราชการชดใช้เป็นระยะเวลาสองเท่าของระยะเวลาที่ลาศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้จะต้องกลับมารับราชการชดใช้เป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ลาศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป
สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย
ประกาศมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ อำนาจพิจารณาอนุญาตการลา และการได้รับค่าจ้างระหว่างลา ของพนักงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2549 ซึ่งกำหนดให้จะต้องกลับมารับราชการชดใช้เป็นระยะเวลาสองเท่าของระยะเวลาที่ลาศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2552 ประกาศมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ อำนาจพิจารณาอนุญาตการลา และการได้รับค่าจ้างระหว่างลา ของพนักงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2552 ซึ่งกำหนดให้จะต้องกลับมารับราชการชดใช้เป็นระยะเวลาหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ลาศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2552 เป็นต้นไป
3. เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตลาศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ
ผู้ประสงค์จะไปศึกษาหรือฝึกอบรมจะต้องยื่นขออนุญาตลาศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ โดยมีเอกสารใช้ประกอบการพิจารณาดังนี้
1. บันทึกขออนุญาตลาศึกษาหรือฝึกอบรม
2. หนังสือตอบรับจากสถานที่ศึกษา ซึ่งระบุชื่อผู้ลา ระดับการศึกษาและสาขา วันที่เริ่มศึกษาหรือฝึกอบรม
3. หลักฐานการได้รับทุน ซึ่งระบุลักษณะทุน จำนวนทุน และระยะเวลาให้ทุน (ถ้ามี)
4. โครงการหรือแนวทางการศึกษาหรือฝึกอบรม
5. บันทึกเหตุผลความจำเป็น และตวามต้องการให้ผู้ลาไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ ของหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนแผนงานหรือโครงการที่จะให้ผู้ลานั้นกลับมาปฏิบัติงาน
6. ผลการตรวจรางกาย
7. สัญญาผูกมัดการกลับมารับราชการ
8. แบบใบลาไปศึกษา/ฝึกอบรม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ อำนาจพิจารณาอนุญาตการลาและการได้รับค่าจ้างระหว่างลา ของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549 หมวด 11 ส่วนที่ 6 และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม และ แบบ checklist เอกสาร ได้ที่เว็บไซต์กองทรัพยากรมนุษย์>แบบฟอร์ม>ขออนุญาตลาศึกษา ฝึกอบรม/ขออนุมัติเดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ
4. ไปศึกษา ฝึกอบรม ทำวิจัย จะต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายในระยะเวลาเท่าใด
พนักงานมหาวิทยาลัย ที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ทำวิจัย เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตหรือเสร็จการศึกษา ฝึกอบรม ทำวิจัย ก่อนครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจะต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
กรณี ลาศึกษา ฝึกอบรม ทำวิจัย ณ ต่างประเทศ
1. ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 20 วัน สำหรับผู้ได้รับอนุญาตฯ เกิน 1 ปี
2. ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 10 วัน สำหรับผู้ได้รับอนุญาตฯ เกิน 6 เดือน
3. ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 5 วัน สำหรับผู้ได้รับอนุญาตฯ ไม่เกิน 6 เดือน
กรณี ลาศึกษา ฝึกอบรม ทำวิจัย ในประเทศ
1. รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน 7 วัน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ อำนาจพิจารณาอนุญาตการลาและการได้รับค่าจ้างระหว่างลา ของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549 หมวด 10 ข้อ46 และ หมวด 11 ส่วนที่ 6 ข้อ3
5. การลาแบบใดบ้างที่ต้องใช้สัญญาลาและผู้ค้ำประกัน
การลาศึกษา ฝึกอบรม ทำวิจัย ผู้ลาจะต้องทำสัญญาตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมีค้ำประกัน
- กรณีที่ผู้ลาไปฝึกอบรม ในประเทศ ที่มีหลักสูตรการฝึกอบรมเกินกว่า 6 เดือน หรือทางราชกรต้องจ่ายเงินเป็นค่าฝึกอบรม เกินกว่า 50,000 บาทต่อคน ให้ทำสัญญาตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยไม่ต้องมีค้ำประกัน
- กรณีที่ผู้ลาไปฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ ที่มีหลักสูตรการฝึกอบรมไม่เกิน 90 วัน ให้ถือเป็นการปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ (ตามมติคณะกรรมการบริหารบุคคล (ก.บ.ค.) ในการประชุมครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 61)
- กรณีที่ผู้ลาไปทำวิจัย ณ ต่างประเทศ ที่ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน ให้ถือเป็นการปฏิบัติงาน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ อำนาจพิจารณาอนุญาตการลาและการได้รับค่าจ้างระหว่างลา ของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549